วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 27 เมษายน 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้เป้นการเรียนการสอยชั่วโมงสุดท้ายก่อนปิดภาคเรียนที่ 2 เป็นการสอบร้องเพลง โดยการจับฉลากร้องคนละ 1เพลง โดยดิฉันได้ร้องเพลง กินผัก บรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนานปนตื่นเต้นลุ้นว่าจะเป็นเรามั้ย เราจะได้ร้องเพลงอะไร ขอให้ได้เพลงที่ซ้อมมาด้วยเถอะ เพราะเพลงที่ต้องลุ้นจับฉลากนั้นมีถึง 21 เพลง แต่ในที่สุดก็ผ่านมาได้ดีนะที่ซ้อมเพลงผักมาเป็นอย่างดี ได้คะเเนน 5/5 ไปเล๊ยยยย

การนำไปใช้
     นำเพลงที่อาจารย์ฝึกให้ร้องไปใช้สอนเด็กๆได้ในอนาคต

การประเมิน
     ตนเอง; ตั้งใจเรียนบ้าง แต่งกายก็ผิดระเบียบบ้างบางคาบ
     เพื่อน: สนุกสนานรื่นเริงบรรเทิงใจ
     อาจารย์: หน้าเด็ก นิสัยดี ปรึกษาได้ทุกเรื่องช่วยได้มั้ยเป็นอีกเรื่องนึง เตรียมเนื้อหาในการสอนมาเป็นอย่างดี มีตัวอย่างอาการของเด้กแต่ละประเภทมาเล่าให้นักศึกษาฟังตลอด เรียนเข้าใจง่าย จำเนื้อหาได้ดี รักอาจารย์ จุ๊ฟฟ





บันทึกอนุทินครั้งที่ 13



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 23 เมษายน 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ
     เรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล แผน IEP

 แผน IEP คือ แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็กแต่ละคน  ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผล  ซึ่งมีบุคคลที่เกี่ยวข้องในการเขียนแผน  ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูประจำชั้น ผู้ปกครอง และอาจมีหมอหรือผู้ช่วยสอนร่วมด้วย
         
            การเขียนแผน IEP  เป็นแผนของเด็ก 1 คน ครูต้องรู้จักเด็กคนนั้นเป็นอย่างดี รู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร รู้นิสัย จุดเด่น จุดด้อย สภาพครอบครัว ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลหรือไม่  รู้ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้ และไม่สามารถทำอะไรได้  มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ คอยสังเกตและบันทึกผลอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

           IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- เด็กจำเป็นต้องได้รับการบริการพิเศษอะไรบ้าง
- ระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล

           ประโยชน์ต่อเด็ก  เด็กได้รู้ความสามารถของตนเอง  มีโอกาสได้พัฒนาตามศักยภาพของตนเอง ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

           ประโยชน์ต่อครู  เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก  สามารถเลือสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการของเด็กเปลี่ยนแปลงไป เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก สามารถตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

            ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง  มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ  รู้ว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ฏ มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

            ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
      1. การรวบรวมข้อมูล ทางการแพทย์ ทางการประเมินด้านต่าง ๆ และจากการบันทึกของผู้ปครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
      2. การจัดทำแผน  
             - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
             - กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
                   จุดมุ่งหมายระยะยาว ต้องกำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง เช่น น้องช่วยเหลือตนเองได้
                   จุดมุ่งหมายระยะสั้น ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก ให้เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ กำหนดให้แคบลง และเป็นเชิงพฤติกรรมเท่านั้น กำหนดขึ้นเพื่อสอนใคร พฤติกรรมอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน และพฤติกรรมนั้นต้องดีแค่ไหน
             - กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม

             - ได้รับการรับรองแผนการศึกษารายบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
       3. การใช้แผน  ครูจะนำแผนระยะสั้นไปใช้ นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม แยกย่อยขั้นตอนในการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการสอน มรการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก
       4. การประเมินผล  โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน เกณฑ์การวัดผล ซึ่งการประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน

            เมื่อเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ได้สอนการเขียนแผน IEP และให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อทดลองช่วยกันเขียน IEP กลุ่มละ 1 แผน



การนำไปใช้
     นำเนื้อหาที่อาจารย์สอนมาปรับใช้ในการทำงานในอนาคต ทำให้เราสามารถเขียนแผนเฉพาะบุคคลได้อย่างถูกต้อง

การประเมิน
      ตนเอง: ตั้งใจเรียน ไม่คุยกันเสียงดัง แต่งกายเรียบร้อย
     เพื่อน: เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมมือกันเขียนแผน IEP
     อาจารย์: คอยชี้เเนะนักศึกษาในการเขียนแผนที่ถูกต่อง

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 9 เมษายน 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.



ความรู้ที่ได้รับ
     เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ก่อนเริ่มเข้าเนื้อหา อาจารย์เเจกเนื้อเพลงเพื่อนให้เราได้ฝึกร้อง จะได้ได้ร้องไม่เพี้ยน

โดยมีหัวข้อดังนี้

1. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
2. เป้าหมาย
3. ช่วงความสนใจ
4. การเลียนแบบ
5. การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
6. การรับรู้ การเคลื่อนไหว
7. การควบคุมกล้ามเนื้อ
8. ตัวอย่างอุปกรณืสำหรับเด็กปฐมวัย
9. ความจำ
10. ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
11. การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

การนำไปใช้
     นำความรู้ที่ได้ในวันนี้ทั้งการร้องเพลง ความรู้จากบทเรียนมาใช้ในอนาคต

การประเมิน
     ตนเอง: ตั้งใจร้องเพลงมากกก
     เพื่อน: ตั้งใจเรียน เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ไม่คุยกันเสียงดัง
     อาจารย์:เข้าสอนตรงเวลา ให้ทำนองในการร้องเพลงแต่หนูก็ยังเพี้ยนอยู่ดี

     
     
     
     

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 26 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ
    วันนี้อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบทบทวนเนื้อหาที่เรียนมมา ว่านักศึกษาจะมีวิธีการแก้ปัญหาของเด็กพิเศษแต่ละอาการอย่างไร ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองอย่างไร



การนำไปใช้
     เป็นแนวข้อสอบที่จะใช้ต่อไปและรู้ถึงวิธีการที่จะดูแลและส่งเสริมเด็กพิเศษที่มีอาการแบบต่างๆได้

การประเมิน
     ตนเอง: ตั้งใจทำข้อสอบ มีแอบเหลือบมองคนข้างๆบ้าง แต่ก็พอทำได้
     เพื่อน: ตั้งใจทำกันมากเขียนยาว ไม่คุยกันเสียงดัง
    อาจารย์: ให้กำลังใจนักศึกษาขณะสอบ



บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 19 มีนาคม 2558 เวลา 13.10-16.40 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง คือ การให้เด็กได้เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระ ทำกิจวัตรต่าง ๆในชีวิตประจำวันด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด เด็กสามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตนเอง

การสร้างความอิสระ คือ ให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง ได้ทำงานตามความสามารถ การเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน หรือบุคคลที่โตกว่า

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ เด็กได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและได้เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง ไม่ช่วยเหลือเด็กเกินความจำเป็น ห้ามพูดกับเด็กว่า "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้" เด็ดขาด

จะช่วยเมื่อไหร่ เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร เบื่อ ไม่สบาย หลายครั้งที่เด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว ให้ความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ ช่วยเด็กในช่วงทำกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
 แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยให้มากที่สุด เรียงตามลำดับขั้น (การย่อยงาน)

ท้ายคาบอาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำ คือกิจกรรมระบายสีรูปวงกลม เลือกใช้สีตามที่ตนเองชอบวงไปเรื่อยๆ แล้วตัดเป้นรูปวงกลมจากนั้นมาติดที่รูปต้นไม้
ผลงานของเพื่อนทุกๆคน

การนำไปประยุกใช้
     นำกิจกรรมความรู้ต่างๆที่อาจารย์สอนาปรับใช้ในอนาคตได้

การประเมิน
     ตนเอง: ตั้งใจเรียน ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา
     เพื่อน: ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกันเสียงดังรบกวนสมาธิ
     อาจารย์: เตรียมเนื้อหาในการเรียนการสอน มีตัวอย่างอาการของเด็กพิเศษต่างๆมาเล่าให้ฟัง


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9




บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 27 เมษายน 2558 เวลา 13.10-16.40 น.



ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้เรียนนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะภาษา
     การวัดความสามารถทางภาษา คือ เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม ถามหาสิ่งต่างๆไหม บอกเล่าเหตุการณืต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
     การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด คือ การพูดตกหล่น การใช้เสียงหนึ่งเเทนอีกเสียงหนึ่ง พูดติดอ่าง
     การปฎิบัติของครูและผู้ใหญ่ คือ ไม่สนใใจในการพูดซ่ำหรือการออกเสียงไม่ชัด อย่าขัดังหวะขณะเด็กพูด
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
     การรับรู้ภาษา การแสดงออกทางภาษา การสื่องความหมายดดยไม่ใช่คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
     การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา ให้เวลาเด็กได้พูด คอยให้เด็กตอบ ชี้เเนะหากจำเป็น เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว

และมีกิจกรรมเป็นกิจกรรมศิลปะบำบัดเด็ก โดยใช้สีเทียนลากเส้นไปเรื่อยๆ ตามทำนองเพลงและระบายสีในช่องว่าง



            

  

                                     
การนำไปใช้

     นำเนื้อหาที่อาจารย์สอนและกิจกรรมในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในการเป็นครูในอนาคตได้

การประเมิน
    
 ตนเอง: ตั้งใจทำกิจกรรมแต่งกายเรียบร้อย
     เพื่อน: .ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม บณะครูสอนก็ไม่คุยกันเสียงดัง
     อาจารย์: เตรียมเนื้อหามาสอนอย่างดี มีกิจกรรมให้ทำทุกคาบได้ประสบการณ์ในการสอนเพิ่มขึ้น




วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิขา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็ปฐมวัย
วันที่ 5 มีนาคม 2558 เวลา 13.10-16.40 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     มีกิจกรรมก่อนเข้าบทเรียน ครูแจกถุงมือให้นักศึกษาคนละข้างสวมมือข้างที่ตนเองไม่ถนัด แล้วให้วาดภาพมือของตัวเองข้างที่อยู่ในถุงมือให้เหมือนที่สุด 
     ความหมายของกิจกรรมนี้ก็คือ เป็นครูอนุบาลผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุดเราต้องสังเกต ใส่ใจ ในทุกรายละเอียดของเด็ก


การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
   
 ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม -อบรมระยะสั้น,สัมนา
                        - สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ - เด็กมักคล้ายคลีงกันมากกว่าแตกต่าง
                                - ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
                                - รู้จักเด็กแต่ละคน
                                - มองเด็กให้เป็น "เด็ก"

เทคนิคการให้เเรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผูเใหญ่ - ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
                                                 - มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
                                                 - หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป

การนำไปประยุกต์ใช้
     นำเทคนิคต่างๆที่อาจารย์สอนไปประยุกต์ใช้ในการเป็นครูในอนาคต

การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจเรียน ไม่คุยกันเสียงดัง
เพื่อน : มาตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา มีตัวอย่างในการสอนทำให้เข้าใจง่ายขึ้น




                    



บันทึกอนุทินครั้งที่ 7




บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.10-16.40 น.
ไม่มีการเรียนการสอน
"สอบกลางภาค"

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.10-16.40 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     ในคาบนี้อาจารย์ให่เล่นเกมส์ รถไฟเหาะแห่งชีวิต เล่นก่อนเข้าสู่บทเรียนเพื่อผ่อนคลาย
และเรียนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางสังคม เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคมนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ และสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้รับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการที่ดี

กิจกรรมการเล่น การเล่นเป้นสิ่งที่สำคัญ เด็กจะสนใจกันโดยมีการเล่นเป็นสื่อ ในช่วงเเรกเด็กจะไม่มองคนอื่นเป็นเพื่อน แต่จะมองเป็นสิ่งที่น่าสำรวจ

ยุทธศาสตร์การสอน ครูจะเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ บอกไ้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นอย่างไร จดบันทึก และทำแผน EP

การกระตุ้นการเลียนเเบบและการเอาอย่าง วางแผนการเล่นไว้หลายๆอย่าง คำนึงถึงเด็กทุกคน ให้เด็กได้เล่นเป็นกล่มเล็กๆ 2-4 คนและให้เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรในขณะเด็กเล่น คอยเฝ้ามอลอยู่ใกล้ๆ ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป ไม่เข้าพูดคุยตัดสินผลงานเด็กขณะเด็กกำลังทำกิจกรรม เอาวัสดุมาให้เพิ่มเพื่อยืดเวลาการเล่น ควรให้อุปกรณ์น้อยกว่าจำนวนเด็ก เช่น มีเด็ก 5 คน ควรให้ของเล่นเด็กอย่างละ 2 ชิ้น เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องทักษะทางสังคมจากการเล่น ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม กรณีที่เด็กไม่ยอมให่อุปกรณ์เพื่อนเล่น ครูควรทำให้เหมือนการเล่นเป็นการเล่นเกม เช่น ให้ตักทรายครบ 10 ครั้งแล้วให้เพื่อนคนต่อไปเล่นบ้าง

การให้เเรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น โดยการชักชวนให้เด็กเล่นกับเพื่อน กรณีเด็กดาวน์ซินโดรมและเด็กออทิสติก หากครูจะชักชวนให้เด็กเล่นกับเพื่อนและเพื่อนในกลุ่มเกิดารยอมรับน้องดาวน์ ควรให้น้องนำของเล่นเข้าไปเล่นกับเพื่อนด้วย

ต่อด้วยการร้องเพลง

และท้ายชั่วโมงก็มีกิจกรรม กิจกรรมและศิลปะบำบัดเพื่อเด็กพิเศษ โดยอาจารย์ให้นักศึกาาจับคู่กัน คนหนึ่งเป็นเด็กพิเศษเเล้วอีกคนเป็นเด็กปกติ เลือกว่าคนไหนจะลากเส้นคนไหนจะจุดแล้วทำไปพร้อมๆกันประกอบจังหวะเพลงเสร็จแล้วก็ให้ต่อเติมระบายสีให้เป้นภาพ


การนำไปใช้
     สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้ในอนาคต นำเพลงที่อาจารย์สอนไปร้องสอนเด็กได้

การประเมิน
ตนเอง: ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน
เพื่อน: ไม่คุยกันเสียงดัง ร่วมมือกันทำกิจกรรม
อาจารย์: กิจกรรมมาเสริมทำให้มีกิจกรรมหลากหลาย ไม่เคลียด

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.10-16.40 น.
วันนี้เซอไพรร์วันเกิดอาจารย์เบียร์







บันทึกอนุทิินครั้งที่ 4


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.10-16.40 น,



ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้เริ่มเรียนด้วยการวาดภาพดอกลิลลี่ให้เหมือนกับภาพต้นเเบบมากที่สุด
ดอกลิลลี่ที่ดิฉันวาด
     เมื่อทุกคนวาดเสร็จอาจารย์ก็ถามว่าเห็นอะไรในภาพนี้ เราควรบอกรายละเอียดตามที่เรามองเห็น เปรียบกับการบันทึกพฤติกรรมเด็กควรบันทึกตามจริงในสิ่งที่เห็นไม่ควรใส่ความรู้สึกไปด้วย

บทบาทของครูปฐมวัยในห้อวเรียนรวม

สิ่งที่ครูไม่ควรทำ
     1.ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก โดยการตัดสินเพียงสิ่งที่ดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง เพราะอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
     2.ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก เพราะเป็นเสมือนตราประทับตัวเด็กทำให้เด็กกลายเป็นแบบนั้นจริงๆ ย่อมเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
     3.ครูไม่ควรบอกพ่อแม่เด็กว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ พ่อแม่ของเด็กมักทราบปัญหาของเด็กอยู่เเล้ว ควรรายงานว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง เท่ากับการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้บ้าง ช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นเเนวทางที่จะพัฒนาเด็ก

สิ่งที่ครูควรทำ
     1. สังเกตอย่างมีระบบ เพราะไม่มีใครสามารถสังเกตเด็กได้ดีกว่าครู เนื่องจากครูอยู่กับเด็กในสถาณการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนาน
     2.ตรวจสอบ ว้าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร เป้นแนวทางให้ครูเเละพ่อแม่เข้าใจเด็กได้ดีขึ้น รู้ว่าเด็กต้องการความช่วยเหลือในสิ่งใด
     3. การบันทึกการสังเกต เป้นการบันทึกตามที่เห็นจริง ไม่ใส่ความเห็นของตนเข้าไป ซึ่งประกอบด้วยสามประเภทคือ
     - การนับอย่างง่ายๆ คือ นับจำนวนครั้งหรือระยะเวลาที่เกิดพฤติกรรม
     - การบันทึกต่อเนื่อง คือ เขียนทุกอย่างที่เด็กทำช่วงหนึ่ง หรือกกิจกรรมหนึ่ง
     - การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือ การบันทึกสั้นๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมเด็ก ลงบัตรเล็กๆ

หลังจากเรียนเนื้อหาเสร้จก็ถึงเวลาที่เราจะต้องมาฝึกร้องเพลงให้เข้าจังหวะ



การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้เกี่ยวกับบทบาทของครูที่ควรทำ และไม่ควรทำไปใช้จริงในการเป็นครูในอนาคตและให้คำปรึกษากับผู้ปกครองได้

การประเมิน
ตนเอง: เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน
เพื่อน: ไม่คุยเสียดัง ตั้งใจฟังอาจารย์ มีการตอบคำถามในชั้นเรียน
อาจารย์: ตั้งใจสอนนักศึกษาเวลาอธิบายพฤติกรรมอะไรก็จะมีตัวอย่างยกมาให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 29 มกราคม 2558 เวลา 13.10-16.40 น.
*วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากอาจารย์ไปสัมนาวิชาการ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 22 มกราคม 2558 เวลา 13.10-16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ
- การศึกษาแบบปกติทั่วไป
- การศึกษาพิเศษ
- การศึกาาเเบบเรียนรวม
- การศึกษาแบบเรียนร่วม

     การศึกษาเเบบเรียนร่วม หมายถึง  การจัดการศึกษาที่ให้เด๋กพิเศษเข้าไปเรียนในระบบการศึกษาทั่วไป มีกิจกรรมที่เด็กพิเศษและเด็กปกติทำร่วมกัน ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของวัน ซึ่งเเบ่งออกเป็น
2 ลักษณะ คือ
     1. การเรียนร่วมบางเวลา เป็นการจัดให้เด็กพิเศษเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนหรือทำกิจกรรมกับเด็กปกติเพียงบางเวลาของเเต่ะวัน เป็นเด็กพิเศษระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่สามารถเรียนร่วมเต็มเวลาได้
     2. การเรียนร่วมเต็มเวลา เป็นการจัดให้เด็กพิเศษเข้าเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลา จัดกระบวนการการเรียนรู้และบริหารนอกห้องเรียนใกล้เคียงเด็กปกติ

การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การจัดการศึกษาให้เด็กพิเศษสามารถเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติตั้งเเต่เริ่มเข้ารับการศึกษาจนจบการศึกษา เป็นการศึกษาสำหรับทุกคน ยึดปรัชญาการอยู่รวมกันเป็นหลัก ยอมรับซึ่งกันและกัน ปรับตัวเข้าหากัน ครูกับนักเรียนช่วยกันเป็นสมาชิกที่ดี

     และฝึกร้องเพลง

การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำความรู้ที่ได้วันนี้ไปจัดการศึษาให้เด็กพิเศษได้อย่างถูกต้อง

การประเมิน
ตนเอง: ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย แต่งกายเรียบร้อย คุยนิดหน่อยเพราะรวม2เซก เช้าบ่าย
เพื่อน:เสียงดังดีค่ะ
อาจารย์:เข้าสอนตรงเวลา อธิบายมีตัวอย่างทำให้เข้าใจง่ายขึ้น